วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

สานต่อ บัวเฮ้าส์(Bauhaus)

ต่อจากอาทิตย์ที่แล้วที่มีคำถามต่อเน่ื่องมาอีก หลายๆข้อดังนี้

1. Bauhaus Dutch และ swiss เกี่ยวข้อกันยังไงและมีอิทธิพลต่อศิลปะทางยุโรปอย่างไร

A : ปัจจัยทางสงคราม ซึ่งทำให้เกิดความเร่งรีบในหลายๆอย่าง การขวนขวายเรื่อง
เทคโนโลยี จึงมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยพัฒนาภายใต้เงื่อนไขในเชิง
ปริมาณ และระบบการคิดซ้ำๆซึ่งมีมาตรฐาน เดียวกันแบบสำเร็จรูป
B : ปัจจัยของจำนวนประชากร มีการโยกย้ายเข้าสู่เมืองใหญ่ ทำให้ต้องมีการจัด
ระเบียบของชุมชนใหม่งานออกแบบทางสถาปัตยกรรมจึงต้องสอดคล้องและ
ตอบสนองกับปัญหารีบด่วนเหล่าน
C : ปัจจัยทางการเมืองและการปกครอง ซึ่งส่งเสริมเสรีภาพและความเสมอภาคโดย
ทำให้เกิดความกระตือรือร้นในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง
ทางความคิดและการกระทำในแนวทางใหม่จึงเกิดขึ้นอย่างมากมาย

2. สถาปนิกแต่ละคนเป็นยังไงและทำไมจึงมีความคิดแบบนี้ ทำไมจึงมีลักษณะของงาน ที่ออกมาคล้ายกัน?

จากแนวคิดที่ต้องการตอบสนองทางด้านอุตสาหกรรมและ เทคโนโลยีโดยสถาปนิกแต่ละคนมีแนวความคิดที่เรียกว่า “วัตถุวิสัยเชิงเหตุผล” ซึ่งให้
ความสำคัญกับวัสดุใหม่ทางอุตสาหกรรมเพื่อตอบสนองสภาพสังคม และสิ่งแวดล้อมซึ่งต่างจากสมัยก่อนที่งานถูกสร้างขึ้นเพื่อตอบสนอง ศาสนา
หรือความคิดส่วนบุคคล

- William Morris – เป็นผู้เริ่มต่อต้านศิลปะลักษณะ Non-functionalrole (ไม่มีหน้าที่ใดๆ) ซึ่งได้ก่อต้องบริษัทที่รวมเอาศิลปินหลากหลายสาขา
มาทำงานในรูปแบบของ workshop ใน คศ. 1861 ซึ่งมีลักษณะ คล้ายกับการเรียนการสอนของ Bauhaus ที่มีการนำอาจารย์ในสาขาต่างๆมา
สอนนักศึกษา

- Henry van de Velde – สถาปนิกและนักออกแบบชาวเบลเยี่ยมได้รับอิทธิพลทางความคิดจาก Morris ในการค้นหาทางออกที่กลมกลืน
ระหว่าง เครื่องจักร ช่างฝีมือ ศิลปะ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อชีวิตของคนในทุกระดับ จากการที่เค้าทำงานทางด้านทฤษฏีและปฏิบัติ เขาจึงได้
พยายามเผยแพร่แนวคิดเรื่อง สุนทรียภาพเชิงอุตสาหกรรม เพื่อสร้างการยอมรับจากสังคม บทบาทที่สำคัญที่สุดของเขาเกิดขึ้นในเยอรมันนี เขา
ได้จัดระเบียบองค์กรใหม่ให้กับ Art and Crafts school และ Academy of fine arts ในไวมาร์ เมื่อ คศ. 1912

- ในคส.1907 Hermann Muthesius มีส่วนช่วยในการก่อตั้งสมาคม Deutscher werkbund ซึ่งเป็นสมาคมของโรงงานผู้ผลิตสถาปนิกศิลปิน
นักเขียนโดนมีจุดมุ่งหมาย เพื่อค้นหาทิศทางใหม่และหามาตรฐานในการออกแบบเชิงหน้าที่ โดยมีพื้นฐานอยู่บนเครื่องจักรกล
ความพยายามเพื่อหาการยอมรับการใช้วัสดุใหม่และวิธีทำงานของอุตสาหกรรมที่ใช้เหตุผลควบคุม และสังคมแงอุตสาหกรรมายังคงดำเนินต่อ
ไปเมื่อ วอเตอร์ โกรเพียส ได้สืบทอดตำแหน่งผู้อำนวย Weimar school of art ต่อจาก Henry van de Velde ซึ่งโดรงเรียนนี้ได้กลายเป็น
Bauhaus ในคศ. 1919

3. สิ่งที่ประชาชนต่อต้าน Bauhaus

- สืบเนื่องจากการที่เยอรมันใน คศ.1919 สาธารณะรัฐ ไวมาร์ ต้องเผชิญกับวิกฤตการณ์ การที่ประเทศชาติต้องยอมเซ็นสนธิสัญญาแวร์ซายน์
นอกจากนั้นยังต้องชำระค่าปฏิกรรม 6,500 ล้านปอนด์ เป็นสภาวะที่ประชาชนตกต่ำมากๆ คือชาวเยอรมันหาเงินมาได้เท่าไหร่ก็ต้องส่งเป็น
ภาษีให้รัฐบาลทั้งหมด รัฐบาลเยอรมันนีไม่กล้าขึ้นภาษีอะไรอีกแล้วเนื่องจากคนจนของเยอรมันไม่สามารถทำอะไรได้อีกแล้ว
การปฏิวัติอุตสาหกรรมมีส่วนทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคม และยังเป็นการแย่งอาชีพจากชนชั้นกรรมกร ทำให้ประชาชนบางส่วนไม่พอใจ
ใน Bauhaus เนื่องจากนโยบายของสถาบันซึ่งสนับสนุนในเรื่องของการปฏิวัติอุตสาหกรรมนั่นเอง

4. ที่มาของรูปทรงต่างๆ

- จากวิธีความคิด “ วัตถุวิสัยเชิงเหตุผล” การคิดทุกอย่างด้วยหลักเหตุและผลเพื่อตอบสนองต่อสภาพสังคมและการปฏิวัตอุตสาหกรรมซึ่งมีบทบาท
มากในสมัยนั้นจึงเกิดการผสมกลมกลืนของวิจิตรศิลป์ และประยุกต์ศิลป์โดยสิ่งเหล่านี้ถูกนำไปประยุกต์กับวัตถุที่มีไม่มีคุณค่าทางศิลปะ และสิ่ง
เหล่านี้เองทำให้เกิดการสร้างรูปแบบที่เรียบง่าย พื้นฐานที่สุด ตัดทอนในสิ่งที่ไม่จำเป็น และทำงานจากปัญหา

5. แนวความคิดของ Bauhaus ดำรงอยู่ได้อย่างไรในปัจจุบัน

- วิธีการคิด การแก้ไขปัญหาด้วยหลักเหตุและผลได้ถูกนำมาพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนเป็นระบบมาตรฐานที่ใช้ในการออกแบบปัจจุบัน

6. ทำไมพรรคนาซีจึงสั่งปิดสถานบันเบาเฮาส์
เนื่องการที่ สถานบัน Bauhaus เป็นสถาบันที่ปลูกฝังความคิดในเชิงก้าวหน้า และสนับสนุนในเชิงอุตสาหกรรมซึ่งสามารถเห็นได้จากการตอบ
รับอย่างดีของเมือง เดลซาร์ ซึ่งเป็นเมืองที่กำลังมีการขยายและพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรม โดยตัวสถาบันและนโยบายล้วนเอื้ออำนวยต่อ
ระบบสังคมนิยมซึ่งขัดต่อระบบชาตินิยมของพรรคนาซี

อ้างอิง

- Bauhaus 1919-1933 โดย Benedikt taschen
- Bauhaus โดย Frank Whitford
- ITTEN Element of color โดย Johannes Itten
- Disign and Form โดย Johannes Itten
- Swiss Graphic Design โดย Richard Hollis
- 30 Essential Typefaces for a lifetime โดย Imin Pao and Joshua Berger
- World war I โดยปรีชา ศรีวาลัย
- ประวัติศาสตร์ยุโรป ตั้งแต่ปี ค.ศ.1815 - ปัจจุบัน เล่ม 1 โดย สุปราณี มุขวิชิต

ไม่มีความคิดเห็น: