วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2550

สับสนมากๆ - -


หลังจากที่ได้เสนอเรื่อง การตัดทอน (Reduce)ไปในอาทิตย์ที่แล้วก็งงกะมันมากว่างานมันจะเป็นยังไงต่อไป
จะออกมาในรูปแบบไหน ซึ่งก็คิดไม่ออก จึงคิดย้อนกลับมาใหม่ถึงต้นเรื่องคือ " คุณค่าและความจำเป็น "
แล้วนำหัวเรื่องนี้มาคิดเปรียบเทียบกับเรื่องสวิตซ์ไฟในอาทิตย์ที่แล้วใหม่ จึงคิดว่าน่าจะเปลี่ยนหัวเรื่องเป็น
" สิ่งที่ถูกมองข้าม " เสียมากกว่า
จากอาทิตย์ที่แล้ว ที่เสนอไป อาจารย์ได้พูดกลับมาว่า จะทำงานนี้เป้นอะไร ซึ่งตอบกลับไปว่า Print AD
ซึ่งก็งงๆกับท่าทีของอาจารย์มากว่า ทึ่งว่าจะทำ Print AD หรือ ประชดว่า จะทำแค่ Print AD เองเหรอ - -
แล้วจึงคิดว่างั้นถ้าเราทำพวกใบปลิว หรือ ป้ายโฆษณา ขึ้นมารณรงค์ให้คนรู้ สิ่งที่ถูกมองข้าม หรือผลเสียที่ไปมองข้ามสิ่งเหล่านี้
ซึ่งคล้ายๆกับการรณรงค์ให้งดสูบบุหรี่ ที่ชี้ให้เห็นถึงผลเสียของการสูบบุหรี่ อะไรประมาณนั้นจึงได้ทดลองทำโปสเตอร์เล่นๆหนึ่งชิ้น

วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2550

คิดว่าอาทิตย์นี้ผลิแล้วครับ

รื่องมันมีอยู่ว่าวันศุกร์ที่ผ่านมา ณ.เวลา 22:00 น. ได้มีโอกาสกลับบ้านไปเยี่ยมบุพการี และได้กลับไปสู่มาตุภูมิเก่าในห้องเน่าๆ(ห้องเก็บของ)เพื่อหางานเก่าๆตอนปี1- ปี2 เราก็เปิดประตูเข้าไปปัญหาที่เจอคือห้องมืดมาก!! เราก้อคลำไปทางขวาซึ่งปกติสวิตซ์ไฟจะอยู่ทางขวา แต่ปัญหาที่พบคือคลำหาไม่เจอ - -
เนื่องจากไม่ได้เข้าไปนานมากแล้วทำให้คิดว่า "มนุษย์ทำหลอดไฟขึ้นมาเพื่อให้แสงสว่างยามค่ำคืน และมีสวิตซ์เป็นตัวเปิดไฟ
แล้วถ้าหาสวิตซ์ไม่เจอก็เปิดไฟไม่ได้" มันคือเรื่องปกติที่รู้ๆกันอยู่แต่ก็คิดต่อไปว่าคนประดิษฐ์สวิตซ์เค้าคิดยังไงฟะ ทำไมไม่ทำให้สวิตซ์ไฟเรืองแสงในที่มืด เพราะอย่างที่กล่าวข้างต้นมีหลอดไฟแต่หาสวิตซ์ไม่เจอ แล้วจะมีหลอดไฟทำเกลืออะไร
จึงได้คิดต่อด้วยความฟุ้งซ่านว่า แบบนี้เค้าเรียกว่า " การตัดทอนสิ่งที่ไม่จำเป็นรึเปล่า " คนผลิตสวิตซ์ก็มีหน้าที่ผลิตอย่างเดียวส่วนผู้บริโภคจะเอาไปใช้อย่างไรไม่สนอย่างนั้นหรือ? แล้วสักพักก็ ปิ๊ง! นึกขึ้นได้ว่ามันเข้ากับ "กฎแห่งความเรียบง่าย"
ของ John Maeda (การลด Reduce) หรืออย่างที่ Bauhaus ทำกันคือการตัดทอนโดยใช้รูปทรงเรขาคณิตเพื่อให้ง่ายต่อการจดจำหรือเปล่า เพราะถ้าลดวัสดุลงก้อจะได้ต้นทุนต่ำ ขายได้ดีก็โอเคเพราะทุกบ้านต้องใช้สวิตซ์แล้วก็ได้คิดต่อไปอีกว่ามีอะไรอีกที่มันตัดทอนสิ่งที่ควรจะมีออกไป สักพักก็นึกได้ว่ามองไม่เห็นก็ต้องมีไฟฉาย และก็คิดอีกว่าถ้าไฟดับทั้งบ้านมองไม่เห็นไฟฉาย แล้วจะมีไฟฉายทำ...ไร (เข้าแก๊ปเดิมทำไมไม่ทำให้มันเห็นในที่มืด) โดยปกติถ้าไฟดับที่คิดได้อย่างแรกคือ 1. ชิบหายแล้ว 2. ไฟฉายอยู่ไหนวะ จากข้อ2เราก็จะเริ่มเดินหาไฟฉาย ปกติก็จะจำกันได้ว่าไฟฉายวางไว้ที่ไหนแต่เมื่อเดินไปถึงจุดที่วางไฟฉายเราก็ต้องใช้มือคลำๆจนเจออยู่ดี ถ้ามันเรืองแสงคงหาเจอไปนานแล้วไม่เสียเวลาคลำหา นี่เป็นแค่การยกตัวอย่างเล็กน้อยเท่านั้น ยังไม่รวมไปถึงตอนเดินหาไฟฉายแล้วเตะไปโดนขอบโต๊ะ (สงสัยขาโต๊ะก็ต้องเรืองแสง 555+)
ต่อมาไม่นานก็ได้อ่านหนังสือ เล่นแร่แปรธาตุ หน้าที่ 303 เรื่อง "โปรดประดิษฐ์" ทำให้รู้ว่ามีคนที่คิดอย่างที่เราคิดเหมือนกัน (ขอไม่พิมพ์ลงในนี้แล้วกันกลัวมันจะไม่งามทางด้านกฏหมาย) จึงขอพูดย่อๆว่า ผู้ผลิตอาจจะลดหรือตัดทอนผลิตภัณฑ์จนมองข้ามสิ่งที่เรียกว่า "คุณค่าและความจำเป็น"