วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2550

สับสนมากๆ - -


หลังจากที่ได้เสนอเรื่อง การตัดทอน (Reduce)ไปในอาทิตย์ที่แล้วก็งงกะมันมากว่างานมันจะเป็นยังไงต่อไป
จะออกมาในรูปแบบไหน ซึ่งก็คิดไม่ออก จึงคิดย้อนกลับมาใหม่ถึงต้นเรื่องคือ " คุณค่าและความจำเป็น "
แล้วนำหัวเรื่องนี้มาคิดเปรียบเทียบกับเรื่องสวิตซ์ไฟในอาทิตย์ที่แล้วใหม่ จึงคิดว่าน่าจะเปลี่ยนหัวเรื่องเป็น
" สิ่งที่ถูกมองข้าม " เสียมากกว่า
จากอาทิตย์ที่แล้ว ที่เสนอไป อาจารย์ได้พูดกลับมาว่า จะทำงานนี้เป้นอะไร ซึ่งตอบกลับไปว่า Print AD
ซึ่งก็งงๆกับท่าทีของอาจารย์มากว่า ทึ่งว่าจะทำ Print AD หรือ ประชดว่า จะทำแค่ Print AD เองเหรอ - -
แล้วจึงคิดว่างั้นถ้าเราทำพวกใบปลิว หรือ ป้ายโฆษณา ขึ้นมารณรงค์ให้คนรู้ สิ่งที่ถูกมองข้าม หรือผลเสียที่ไปมองข้ามสิ่งเหล่านี้
ซึ่งคล้ายๆกับการรณรงค์ให้งดสูบบุหรี่ ที่ชี้ให้เห็นถึงผลเสียของการสูบบุหรี่ อะไรประมาณนั้นจึงได้ทดลองทำโปสเตอร์เล่นๆหนึ่งชิ้น

วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2550

คิดว่าอาทิตย์นี้ผลิแล้วครับ

รื่องมันมีอยู่ว่าวันศุกร์ที่ผ่านมา ณ.เวลา 22:00 น. ได้มีโอกาสกลับบ้านไปเยี่ยมบุพการี และได้กลับไปสู่มาตุภูมิเก่าในห้องเน่าๆ(ห้องเก็บของ)เพื่อหางานเก่าๆตอนปี1- ปี2 เราก็เปิดประตูเข้าไปปัญหาที่เจอคือห้องมืดมาก!! เราก้อคลำไปทางขวาซึ่งปกติสวิตซ์ไฟจะอยู่ทางขวา แต่ปัญหาที่พบคือคลำหาไม่เจอ - -
เนื่องจากไม่ได้เข้าไปนานมากแล้วทำให้คิดว่า "มนุษย์ทำหลอดไฟขึ้นมาเพื่อให้แสงสว่างยามค่ำคืน และมีสวิตซ์เป็นตัวเปิดไฟ
แล้วถ้าหาสวิตซ์ไม่เจอก็เปิดไฟไม่ได้" มันคือเรื่องปกติที่รู้ๆกันอยู่แต่ก็คิดต่อไปว่าคนประดิษฐ์สวิตซ์เค้าคิดยังไงฟะ ทำไมไม่ทำให้สวิตซ์ไฟเรืองแสงในที่มืด เพราะอย่างที่กล่าวข้างต้นมีหลอดไฟแต่หาสวิตซ์ไม่เจอ แล้วจะมีหลอดไฟทำเกลืออะไร
จึงได้คิดต่อด้วยความฟุ้งซ่านว่า แบบนี้เค้าเรียกว่า " การตัดทอนสิ่งที่ไม่จำเป็นรึเปล่า " คนผลิตสวิตซ์ก็มีหน้าที่ผลิตอย่างเดียวส่วนผู้บริโภคจะเอาไปใช้อย่างไรไม่สนอย่างนั้นหรือ? แล้วสักพักก็ ปิ๊ง! นึกขึ้นได้ว่ามันเข้ากับ "กฎแห่งความเรียบง่าย"
ของ John Maeda (การลด Reduce) หรืออย่างที่ Bauhaus ทำกันคือการตัดทอนโดยใช้รูปทรงเรขาคณิตเพื่อให้ง่ายต่อการจดจำหรือเปล่า เพราะถ้าลดวัสดุลงก้อจะได้ต้นทุนต่ำ ขายได้ดีก็โอเคเพราะทุกบ้านต้องใช้สวิตซ์แล้วก็ได้คิดต่อไปอีกว่ามีอะไรอีกที่มันตัดทอนสิ่งที่ควรจะมีออกไป สักพักก็นึกได้ว่ามองไม่เห็นก็ต้องมีไฟฉาย และก็คิดอีกว่าถ้าไฟดับทั้งบ้านมองไม่เห็นไฟฉาย แล้วจะมีไฟฉายทำ...ไร (เข้าแก๊ปเดิมทำไมไม่ทำให้มันเห็นในที่มืด) โดยปกติถ้าไฟดับที่คิดได้อย่างแรกคือ 1. ชิบหายแล้ว 2. ไฟฉายอยู่ไหนวะ จากข้อ2เราก็จะเริ่มเดินหาไฟฉาย ปกติก็จะจำกันได้ว่าไฟฉายวางไว้ที่ไหนแต่เมื่อเดินไปถึงจุดที่วางไฟฉายเราก็ต้องใช้มือคลำๆจนเจออยู่ดี ถ้ามันเรืองแสงคงหาเจอไปนานแล้วไม่เสียเวลาคลำหา นี่เป็นแค่การยกตัวอย่างเล็กน้อยเท่านั้น ยังไม่รวมไปถึงตอนเดินหาไฟฉายแล้วเตะไปโดนขอบโต๊ะ (สงสัยขาโต๊ะก็ต้องเรืองแสง 555+)
ต่อมาไม่นานก็ได้อ่านหนังสือ เล่นแร่แปรธาตุ หน้าที่ 303 เรื่อง "โปรดประดิษฐ์" ทำให้รู้ว่ามีคนที่คิดอย่างที่เราคิดเหมือนกัน (ขอไม่พิมพ์ลงในนี้แล้วกันกลัวมันจะไม่งามทางด้านกฏหมาย) จึงขอพูดย่อๆว่า ผู้ผลิตอาจจะลดหรือตัดทอนผลิตภัณฑ์จนมองข้ามสิ่งที่เรียกว่า "คุณค่าและความจำเป็น"

วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

ความคิดทางเรขาคณิต III

ความรู้ทั่วๆไปเกี่ยวกับเรขาคณิต

- รูปปิด หมายถึง รูปที่มีเส้นขอบลากจากจุดเริ่มต้นแล้ววกกลับมาที่จุดเดิมเขตล้อมรอบ ได้แก่



- รูปเปิด หมายถึง รูปที่เส้นขอบลากจากจุดเริ่มต้นแล้วไม่วกกลับมาพบกับจุดเดิม ได้แก่



- รูปเรขาคณิต หมายถึง รูปปิดที่มีรูปร่างลักษณะแตกต่างกันไป การจำแนกรูปเรขาคณิตที่ไม่เป็นเหลี่ยมนั้นใช้การพิจารณาเส้นขอบของรูป ส่วนรูปเรขาคณิตที่เป็นเหลี่ยมจะจำแนกตามจำนวนด้านหรือจำนวนมุมของรูป



- รูปเรขาคณิต มีหลายชนิด ได้แก่ รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม รูปวงกลม รูปวงรี เป็นต้น

- รูปสามเหลี่ยม เป็นรูปปิดที่ประกอบด้วยด้าน 3 ด้าน และมีมุม 3 มุม

- รูปสี่เหลี่ยม เป็นรูปปิดที่ประกอบด้วยด้าน 4 ด้านและ มุม 4 มุม

- รูปวงกลม เป็นรูปปิดที่ล้อมรอบด้วยเส้นโค้ง ที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางเป็นระยะทางเท่า ๆ

- รูปวงรี เป็นรูปปิดที่ล้อมรอบด้วยเส้นโค้ง คล้ายวงกลม แต่ขอบวงไม่เหมือนกัน

ความคิดทางเรขาคณิต II


ในยุคสมัยบาบิโลน มีหลักฐานชัดเจนว่าได้มีการพิสูจน์ให้เห็นถึงทฤษฎีความสัมพันธ์ของด้านทั้งสามของรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก การพิสูจน์กฎเกณฑ์นี้มีมาก่อนที่พีธากอรัสเกิดถึงกว่าพันปี (พีอากอรัสเกิดเมื่อ 572 ก่อนคริสตกาล) แต่พีธากอรัสได้พิสูจน์และแสดงหลักฐานต่าง ๆ ให้โลกได้รับรู้ และต่อมาได้ยอมรับว่าทฤษฎีบทที่ว่าด้วยเรขาคณิตที่เกี่ยวกับรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก เรียกว่า ทฤษฎีบทพีธากอรัส

ความคิดทางเรขาคณิต

รูปทรงเรขาคณิต เป็นรูปที่ประกอบด้วยจุด เส้นตรง ส่วนโค้งต่าง ๆ และถ้าอยู่ในระนาบเดียวกัน เราก็เรียกว่ารูประนาบ แต่ถ้าหากเป็นรูปทรงที่มีความหนา ความลึก ความสูง เราก็เรียกว่ารูปสามมิติ

หากเราหยิบภาชนะต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเราขึ้นมาจะพบว่าประกอบด้วย รูปทรงเรขาคณิต หลากหลายรวมกัน ความคิดเกี่ยวกับรูปทรงเรขาคณิตในแนวทางคณิตศาสตร์มีพัฒนาการมายาวนานหลายพันปีแล้ว





รูปทรงกลม ลูกบอล แก้วน้ำ ภาชนะถ้วยชามต่าง ๆ ประกอบเป็นรูปร่างแบบต่าง ๆ ดังนั้นการจะอธิบายหรือออกแบบสิ่งต่าง ๆ จำเป็นต้องอาศัยทฤษฎีทางเรขาคณิต

หากหยิบแผ่นกระดาษมาหนึ่งแผ่น ผิวของแผ่นกระดาษเรียกว่าระนาบ รูปที่เกิดบนกระดาษนี้เรียกว่ารูประนาบ และถ้าดูที่ผิวของถ้วยแก้วที่เป็นรูปทรงกระบอก เราก็จะเห็นผิวโค้ง ซึ่งเราอาจมองรูปผิวโค้งของถ้วยแก้วในลักษณะสามมิติ


นักคณิตศาสตร์ เริ่มจากการกำหนดจุด จุดซึ่งไม่มีขนาด ไม่มีมิติ และถ้าเราให้จุดเคลื่อนที่แนวทางการเคลื่อนที่ของจุด ก่อให้เกิดเส้น

วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

ข้อคิดที่ได้จากเบาเฮาส์

ข้อคิดที่ได้จากเบาเฮ้าส์
มี 2เรื่องคือ 1. เรขาคณิต
เนื่องจากงานของเบาเฮ้าส์ส่วนมากเมักจะเป็นรูปแบบง่ายๆอย่างเรขาคณิต
จึงทำให้ ดูเป็นระเบียบ , จดจำได้ง่าย , ง่ายต่อการเข้าใจ ,
2. คืออิทธิพลของเบาเฮ้าส์ที้่มีผลต่องานในสมัยนี้

วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

เก็บตกเรื่องนิดๆหน่อยๆ ไปเจอโดยบังเอิญ ตอน 2



Manon Gropius บุตรสาวของ Walter Gropius และ Alma เสียชีวิตด้วยโรคโปลิโอเมื่ออายุได้ 16 ปี

เก็บตกเรื่องนิดๆหน่อยๆ ไปเจอโดยบังเอิญ



รูป Alma Maria Schindler เมื่ออายุได้ 18 ปี


Alma มีสามี สามคนซึ่ง หนึ่งในสามคนนั้น คือ Walter Gropius นั่นเอง

สานต่อ บัวเฮ้าส์(Bauhaus)

ต่อจากอาทิตย์ที่แล้วที่มีคำถามต่อเน่ื่องมาอีก หลายๆข้อดังนี้

1. Bauhaus Dutch และ swiss เกี่ยวข้อกันยังไงและมีอิทธิพลต่อศิลปะทางยุโรปอย่างไร

A : ปัจจัยทางสงคราม ซึ่งทำให้เกิดความเร่งรีบในหลายๆอย่าง การขวนขวายเรื่อง
เทคโนโลยี จึงมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยพัฒนาภายใต้เงื่อนไขในเชิง
ปริมาณ และระบบการคิดซ้ำๆซึ่งมีมาตรฐาน เดียวกันแบบสำเร็จรูป
B : ปัจจัยของจำนวนประชากร มีการโยกย้ายเข้าสู่เมืองใหญ่ ทำให้ต้องมีการจัด
ระเบียบของชุมชนใหม่งานออกแบบทางสถาปัตยกรรมจึงต้องสอดคล้องและ
ตอบสนองกับปัญหารีบด่วนเหล่าน
C : ปัจจัยทางการเมืองและการปกครอง ซึ่งส่งเสริมเสรีภาพและความเสมอภาคโดย
ทำให้เกิดความกระตือรือร้นในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง
ทางความคิดและการกระทำในแนวทางใหม่จึงเกิดขึ้นอย่างมากมาย

2. สถาปนิกแต่ละคนเป็นยังไงและทำไมจึงมีความคิดแบบนี้ ทำไมจึงมีลักษณะของงาน ที่ออกมาคล้ายกัน?

จากแนวคิดที่ต้องการตอบสนองทางด้านอุตสาหกรรมและ เทคโนโลยีโดยสถาปนิกแต่ละคนมีแนวความคิดที่เรียกว่า “วัตถุวิสัยเชิงเหตุผล” ซึ่งให้
ความสำคัญกับวัสดุใหม่ทางอุตสาหกรรมเพื่อตอบสนองสภาพสังคม และสิ่งแวดล้อมซึ่งต่างจากสมัยก่อนที่งานถูกสร้างขึ้นเพื่อตอบสนอง ศาสนา
หรือความคิดส่วนบุคคล

- William Morris – เป็นผู้เริ่มต่อต้านศิลปะลักษณะ Non-functionalrole (ไม่มีหน้าที่ใดๆ) ซึ่งได้ก่อต้องบริษัทที่รวมเอาศิลปินหลากหลายสาขา
มาทำงานในรูปแบบของ workshop ใน คศ. 1861 ซึ่งมีลักษณะ คล้ายกับการเรียนการสอนของ Bauhaus ที่มีการนำอาจารย์ในสาขาต่างๆมา
สอนนักศึกษา

- Henry van de Velde – สถาปนิกและนักออกแบบชาวเบลเยี่ยมได้รับอิทธิพลทางความคิดจาก Morris ในการค้นหาทางออกที่กลมกลืน
ระหว่าง เครื่องจักร ช่างฝีมือ ศิลปะ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อชีวิตของคนในทุกระดับ จากการที่เค้าทำงานทางด้านทฤษฏีและปฏิบัติ เขาจึงได้
พยายามเผยแพร่แนวคิดเรื่อง สุนทรียภาพเชิงอุตสาหกรรม เพื่อสร้างการยอมรับจากสังคม บทบาทที่สำคัญที่สุดของเขาเกิดขึ้นในเยอรมันนี เขา
ได้จัดระเบียบองค์กรใหม่ให้กับ Art and Crafts school และ Academy of fine arts ในไวมาร์ เมื่อ คศ. 1912

- ในคส.1907 Hermann Muthesius มีส่วนช่วยในการก่อตั้งสมาคม Deutscher werkbund ซึ่งเป็นสมาคมของโรงงานผู้ผลิตสถาปนิกศิลปิน
นักเขียนโดนมีจุดมุ่งหมาย เพื่อค้นหาทิศทางใหม่และหามาตรฐานในการออกแบบเชิงหน้าที่ โดยมีพื้นฐานอยู่บนเครื่องจักรกล
ความพยายามเพื่อหาการยอมรับการใช้วัสดุใหม่และวิธีทำงานของอุตสาหกรรมที่ใช้เหตุผลควบคุม และสังคมแงอุตสาหกรรมายังคงดำเนินต่อ
ไปเมื่อ วอเตอร์ โกรเพียส ได้สืบทอดตำแหน่งผู้อำนวย Weimar school of art ต่อจาก Henry van de Velde ซึ่งโดรงเรียนนี้ได้กลายเป็น
Bauhaus ในคศ. 1919

3. สิ่งที่ประชาชนต่อต้าน Bauhaus

- สืบเนื่องจากการที่เยอรมันใน คศ.1919 สาธารณะรัฐ ไวมาร์ ต้องเผชิญกับวิกฤตการณ์ การที่ประเทศชาติต้องยอมเซ็นสนธิสัญญาแวร์ซายน์
นอกจากนั้นยังต้องชำระค่าปฏิกรรม 6,500 ล้านปอนด์ เป็นสภาวะที่ประชาชนตกต่ำมากๆ คือชาวเยอรมันหาเงินมาได้เท่าไหร่ก็ต้องส่งเป็น
ภาษีให้รัฐบาลทั้งหมด รัฐบาลเยอรมันนีไม่กล้าขึ้นภาษีอะไรอีกแล้วเนื่องจากคนจนของเยอรมันไม่สามารถทำอะไรได้อีกแล้ว
การปฏิวัติอุตสาหกรรมมีส่วนทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคม และยังเป็นการแย่งอาชีพจากชนชั้นกรรมกร ทำให้ประชาชนบางส่วนไม่พอใจ
ใน Bauhaus เนื่องจากนโยบายของสถาบันซึ่งสนับสนุนในเรื่องของการปฏิวัติอุตสาหกรรมนั่นเอง

4. ที่มาของรูปทรงต่างๆ

- จากวิธีความคิด “ วัตถุวิสัยเชิงเหตุผล” การคิดทุกอย่างด้วยหลักเหตุและผลเพื่อตอบสนองต่อสภาพสังคมและการปฏิวัตอุตสาหกรรมซึ่งมีบทบาท
มากในสมัยนั้นจึงเกิดการผสมกลมกลืนของวิจิตรศิลป์ และประยุกต์ศิลป์โดยสิ่งเหล่านี้ถูกนำไปประยุกต์กับวัตถุที่มีไม่มีคุณค่าทางศิลปะ และสิ่ง
เหล่านี้เองทำให้เกิดการสร้างรูปแบบที่เรียบง่าย พื้นฐานที่สุด ตัดทอนในสิ่งที่ไม่จำเป็น และทำงานจากปัญหา

5. แนวความคิดของ Bauhaus ดำรงอยู่ได้อย่างไรในปัจจุบัน

- วิธีการคิด การแก้ไขปัญหาด้วยหลักเหตุและผลได้ถูกนำมาพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนเป็นระบบมาตรฐานที่ใช้ในการออกแบบปัจจุบัน

6. ทำไมพรรคนาซีจึงสั่งปิดสถานบันเบาเฮาส์
เนื่องการที่ สถานบัน Bauhaus เป็นสถาบันที่ปลูกฝังความคิดในเชิงก้าวหน้า และสนับสนุนในเชิงอุตสาหกรรมซึ่งสามารถเห็นได้จากการตอบ
รับอย่างดีของเมือง เดลซาร์ ซึ่งเป็นเมืองที่กำลังมีการขยายและพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรม โดยตัวสถาบันและนโยบายล้วนเอื้ออำนวยต่อ
ระบบสังคมนิยมซึ่งขัดต่อระบบชาตินิยมของพรรคนาซี

อ้างอิง

- Bauhaus 1919-1933 โดย Benedikt taschen
- Bauhaus โดย Frank Whitford
- ITTEN Element of color โดย Johannes Itten
- Disign and Form โดย Johannes Itten
- Swiss Graphic Design โดย Richard Hollis
- 30 Essential Typefaces for a lifetime โดย Imin Pao and Joshua Berger
- World war I โดยปรีชา ศรีวาลัย
- ประวัติศาสตร์ยุโรป ตั้งแต่ปี ค.ศ.1815 - ปัจจุบัน เล่ม 1 โดย สุปราณี มุขวิชิต

วันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

Futura




Futura typeface คือฟ้อนตัวหนังสือทรงเลขาคณิตฟ้อน ออกแบบโดย Paul Renner ในปี 1927 ได้รับความนิยมมากในศตวรรษที่ 20
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี 1950-1960 ได้ถูกใช้ในบริษัทต่างๆตราบจนทุกวันนี้ อาทิเช่น Volkswagen และ Union Pacific อักษรชนิดนี้ จะไม่มีส่วนโค้งมีลักษณะเป็นตัวตรงเหมาะสำหรับพิมชื่อเรื่องหรือพาดหัวโตๆ
ว่ากันว่าให้อ่านง่าย แบบตัวอักษรในระบบวินโดว์ของพีซีกรอบสนทนาทั้งหมดก็ใช้ฟ้อนแบบนี้ )

วันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550



Bauhaus ต้องการผลิตนักศึกษาผู้ซึ่งมีความรู้ในด้านศิลปะและเชิงช่างอย่างรอบด้านด้วยเหตุนี้นักศึกษาจึงไม่ได้ถูกคาดหวังให้เป็นสถาปนิกแต่ต้องการให้มีความรู้พื้นฐานของศิลปะโครงสร้าง (Construction Art ) อีกส่วนหนึ่งที่ถือว่าสำคัญก็คือการให้อิสระแก่นักศึกษา ทั้งนี้เพื่อให้นักศึกษาหลุดออกไปจากกรอบเดิมๆกล้าที่จะคิดรูปทรงใหม่ๆเพื่อที่จะนำไปปรับปรุงสิ่งต่างๆในสังคมให้ร่วมสมัยมากยิ่งขึ้น

การเรียนการสอนในสถาบันเบาเฮ้าส์


การเรียนการสอนในสถาบันเบาเฮ้าส์

ส่วนหนึ่งซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญของสถาบัน Bauhaus คือสถาบันศิลปะแห่งนี้เน้นในเรื่องการสนทนาระหว่าง ผู้สอนกับนักศึกษาโดยถือว่าการพูดคุย นั้นเป็นสิ่งสำคัญแรกสุดเพื่อที่จะให้อาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญจากหลายสาขาและมีประสบการณ์ได้ถ่ายทอดความรู้ของตนให้แก่นักศึกษา
และเพื่อให้นักศึกษาแต่ละคนนำความรู้ที่ได้รับจากอาจารย์ไปต่อยอดเป็นความรู้ของตนเอง นอกจากนี้สถาบันสอนศิลปะ Bauhaus เน้นในเรื่องของ การลงมือปฏิบัติด้วย Gropius การทำงานด้วยมือถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากเพราะจะทำให้นักศึกษาได้รับรู้ถึงการใช้วัสดุที่แท้จริง จึงทำให้ นักศึกษาของBauhaus นั้นเป็นผู้รู้ทางทฤษฏี และเป็นนักปฏิบัติไปพร้อมๆกัน

สถาบันศิลปะ Bauhausต้องการผลิตนักศึกษาผู้ซึ่งมีความรู้ในด้านศิลปะและเชิงช่างอย่างรอบด้านด้วยเหตุนี้นักศึกษาจึงไม่ได้ถูก
คาดหวังให้เป็นสถาปนิกแต่ต้องการให้มีความรู้พื้นฐานของศิลปะโครงสร้าง (Construction Art ) อีกส่วนหนึ่งที่ถือว่าสำคัญก็คือการให้อิสระแก่นักศึกษาทั้งนี้เพื่อให้นักศึกษาหลุดออกไปจากกรอบเดิมๆ กล้าที่จะคิดรูปทรงใหม่ๆเพื่อที่จะนำไปปรับปรุงสิ่งต่างๆในสังคมให้ร่วมสมัยมากยิ่งขึ้น


สถาบันการศึกษา Bauhaus

สถาบันศิลปะเบาเฮาส์หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า The Bauhaus School of Art, craft, and design ได้รับการสร้างขึ้นมาโดยสถาปนิกที่ชื่อว่า Walter Gropius ที่เมืองไวมาร์ ประเทศเยอรมันนี ในปี ค.ศ. 1919 คำว่า เบาเฮาส์ (building house)นั้น เป็นการสะท้อนถึงต้นตอกำเนิด ในความคิดแบบสังคมนิยม ที่เกี่ยวพันกับขบวนการเคลื่อนไหว ทางด้านงานศิลปะและงานฝีมือ ซึ่งไม่ใช่อย่างเดียวกันกับ ความพยายามในช่วงต้นๆในการรื้อฟื้นพลังเกี่ยวกับ ผลิตผลทางงานฝีมือขึ้นมาใหม่ และแม้ว่าสถาบัน Bauhaus จะมุ่งสอนในลักษณะของแนวก้าวหน้าให้อิสรภาพทางความคิดอย่างเต็มที่และต้องการพัฒนาสังคมแต่ความคิดเช่นนี้กลับทำให้สังคมตอบรับอย่างเชื่องช้าและส่งผลกระทบต่อสถาบันในท้ายที่สุด ก่อนการตั้งสถาบันศิลปะ Bauhaus ที่จริงแล้วก็มีโรงเรียนที่สอนทางด้านศิลปะอยู่แล้วบ้างบางโรงเรียน ก็เน้นหนักไปในทางพาณิชย์ศิลปะ ส่วนบางโรงเรียน ก็เน้นไปด้านวิจิตรศิลป์ ส่วนสถาบันศิลปะ Bauhaus นั้นได้นำทั้งสองอย่างมารวมกันซึ่งทำให้อาจารย์ซึ่งสอนอยู่ในสถาบันศิลปะเดิมไม่สามารถที่จะปรับตัวเข้ากับ Bauhaus ได้ การเรียนการสอนของ Bauhaus นั้นเป็นการผสมผสานระหว่างศิลปินซึ่งมีความสามารถทางด้านของรูปทรง( Master of form ) ให้มาสนใจในด้านการฝีมือในขณะเดียวกัน ก็ให้ศิลปินที่มีความสามารถใน ทางฝีมือ ( Shop Master) ให้กลับมาสนใจในความคิดสร้างสรรค์ละเรื่องของรูปทรง